วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

การเขียนรายงานเชิงวิชาการ

การเขียนรายงานเชิงวิชาการ


การเขียนรายงานเชิงวิชาการ

การ เขียนรายงานเป็นการนำเสนอผลจากการศึกษา ค้นคว้าวิจัย จึงจำเป็นต้องมีระบบการนำเสนอที่มีหลักการ มีเหตุมีผล และผู้เขียนรายงานนั้น จะต้องอาศัยความรอบรู้ ประสบการณ์ ทักษะ และการหมั่นฝึกฝนการเขียนอยู่เสมอ เพื่อให้รายงานทางวิชาการที่เขียนขึ้นมีคุณภาพ เชื่อถือได้ และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
ในที่นี้ ผู้เขียนจะนำเสนอ สาระสำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับการเขียนรายงานเชิงวิชาการ ดังนี้
รายงานเชิงวิชาการ เป็นรายงานที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้าวิจัย ซึ่งมีระเบียบวิธีการที่เป็นระบบ และมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ เนื้อหาของรายงานมุ่งเสนอแต่ผลที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า ไม่มีการต่อเติม เสริมแต่งความรู้สึกนึกคิดของผู้รายงานรวมเข้าไปด้วยแต่อย่างใด
รายงานประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ
1. ส่วนนำ (Preliminary Materials) เป็นส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอรายงานเชิงวิชาการนั้น
2. ส่วนเนื้อเรื่อง (Body of Report) เป็นส่วนที่จะกล่าวถึงเนื้อเรื่องของรายงานเชิงวิชาการนั้นทั้งหมด
3. ส่วนอ้างอิง (Reference Materials) เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมให้รายงานเชิงวิชาการนั้นครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ขั้นตอนการเขียนรายงาน
ผู้ เขียนรายงานวิชาการ ควรเริ่มการดำเนินกาอย่างเป็นขั้นตอน ตามลำดับเพื่อสะดวกในการเขียน ได้แก่ กำหนดหัวข้อเรื่อง กำหนดขอบเขตและทำความเข้าใจกับหัวข้อเรื่อง วางโครงเรื่อง รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร/แหล่งสารสนเทศต่างๆ รวบรวมข้อมูลภาคสนาม เขียนฉบับร่าง แก้ไขและขัดเกลา ส่งให้เพื่อน และผู้รู้อ่าน เพื่อวิจารณ์ และขั้นสุดท้าย คือ เขียนฉบับสมบูรณ์

หลักการเขียนรายงาน
1. การจัดรูปแบบ หมายถึง ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตามมหาวิทยาลัย/สถาบันได้กำหนด โดยมีหัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง หัวข้อย่อย โดยจัดวางสอดคล้อง
กันทั้งเล่ม เช่น กำหนดเลข-ตัวอักษรกำกับหัวข้อในรูปแบบเดียวกันทั้งเล่ม

หัวข้อใหญ่ (ตัวอักษรหนาดำ 16 Point)
1. หัวข้อรอง (ตัวอักษรหนาดำ 16 Point)
1.1 หัวข้อย่อย
1.1.1 หัวข้อย่อย
1.1.1.1 หัวข้อย่อย
ก.
ข.
1)
2)
3)

2. ความเป็นเอกภาพของเนื้อหา หมายถึง การเรียบเรียงเนื้อหาในรายงานตั้งแต่ต้นจนจบจะต้องดำเนินไปอย่างสอดคล้อง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตลอด ไม่ว่าจะแบ่งเป็นบท หรือเป็นหัวข้อ แต่ละบท แต่ละหัวข้อจะต้องสอดคล้องต่อเนื่องกันกับบทหรือหัวข้ออื่นๆ ต่อๆ กันไป ไม่ควรนำเพียงแต่ข้อมูล เนื้อหาต่างๆ มาปะติดปะต่อกัน
3. ความแจ่มแจ้งชัดเจน หมายถึง ข้อความทุกประโยค ทุกหัวข้อ ทุกตอนจะต้องแจ่มแจ้ง และอ่านได้ใจความชัดเจน เขียนด้วยประโยคสมบูรณ์ สั้นกระทัดรัด ได้ใจความ และการใช้ภาษาในการเขียนรายงาน มีความถูกต้อง ได้สาระสมบูรณ์ ชัดเจน กะทัดรัด ลำดับความดี แต่ละวรรคตอนเป็นเอกภาพ ความแต่ละวรรคตอน เชื่อมโยงกลมกลืนสัมพันธ์กันดี คงเส้นคงวา ตรงประเด็นตรงจุด ถ้อยคำมีเหตุผลน่าเชื่อถือได้ สุภาพ และลื่นไหล ไม่สะดุด-ติดขัด
4. ความถูกต้อง หมายถึง เนื้อหา ภาษาที่ใช้จะต้องถูกต้องตามหลักวิชาและมีเหตุมีผล
5. ตรงประเด็น หมายถึง เรียบเรียงข้อความ เนื้อหาให้ตรงประเด็นที่ต้องการเสนอ ต้องการอะไร ให้นำเสนอไปอย่างนั้น ไม่ต้องเขียนวกวนไปเวียนมา จนหาข้อสรุปไม่ได้ และไม่ควรตั้งหัวข้ออย่างหนึ่ง แล้วเขียนไปอีกอย่างหนึ่ง
6. ความสำรวม หมายถึง ข้อความทุกข้อความ ทุกประโยค หรือทุกตัวอักษรที่เขียนในรายงานต้องสำรวม ระมัดระวัง พิจารณาไตร่ตรองอย่างละเอียดถี่ถ้วน และรอบคอบแล้วว่า มีความถูกต้อง มีเหตุผลเพียงพอ และไม่ขัดแย้งกัน
7. การอ้างอิง หมายถึง การอ้างอิงต้องทำอย่างถูกต้องตามสากลนิยม ถูกต้องตามหลักการ ทั้งนี้ให้ยึดเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย/สถาบันกำหนด และผู้เขียนรายงาน พึงตระหนักถึงจรรยาบรรณ เมื่อมีการอ้างอิงผลงานของผู้อื่นต้องอ้างอิงถึงเจ้าของผลงานทุกครั้ง
8. ยึดผู้อ่าน หมายถึง การเขียนรายงานที่ผู้เขียนต้องพยายามอธิบาย บรรยายด้วยภาษาที่ง่าย และให้มีเนื้อหาอย่างเพียงพอที่ผู้อื่นมาอ่านแล้วเขาจะสามารถทำความเข้าใจ ได้ พึงระลึกว่า “เราเขียนให้ผู้อื่นอ่านมิใช่ให้ตนเองอ่าน”
9. ทันสมัย หมายถึง เนื้อหาสาระในรายงานมีความทันสมัย ทันกาล มีการปรับเปลี่ยนให้ถูกต้อง เป็นปัจจุบันในเชิงวิชาการ การพัฒนาในศาสตร์สาขานั้นๆ

สรุป
การ เขียนรายงานเชิงวิชาการให้มีคุณภาพได้นั้น ผู้เขียนจำเป็นต้องดำเนินการเป็นขั้นตอนตามลำดับ ศึกษา ค้นคว้าสารสนเทศจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ เช่น เป็นผลงานของสถาบัน/องค์กรที่เชื่อถือได้ เป็นผลงานของบุคคลที่ได้รับการยอมรับในศาสตร์สาขานั้นๆ ฯลฯ และผู้เขียนรายงานจะต้องหมั่นฝึกฝนทักษะในการอ่าน วิเคราะห์ สังเคราะห์ และทักษะการเขียน และทำการเขียนรายงานโดยยึดหลักการเขียนรายงานที่ถูกต้อง
นอก จากนี้ การนำเอกสาร หรือสารสนเทศจากแหล่งต่างๆ มาทำการศึกษาจึงควรพิจารณาในเงื่อนไขด้านเวลาด้วย เช่น การอ้างอิงจากหนังสือไม่ควรเกิน 10 ปี จากเว็บไซต์ หรือฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ควรเกิน 5 ปี และจากรายงานวิจัยไม่ควรเกิน 5 ปี

การเขียนรายงานการประชุม

การเขียนรายงานการประชุม


วิธีการเขียนรายงานการประชุม สำหรับมือใหม่


รายงานการประชุม คือ การ บันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมและมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน ดังนั้น เมื่อมีการประชุม จึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายเลขานุการที่จะต้องรับผิดชอบจัดทำรายงานการประชุม
รูปแบบ ให้จัดรูปแบบดังต่อไปนี้





แบบรายงานการประชุม

รายงานการประชุม............................................................
ครั้งที่.......................
เมื่อ..................................
ณ...........................................................................................

-------------------------------------


ผู้มาประชุม.......................................................................................................................................................
ผู้ไม่มาประชุม (ถ้ามี)........................................................................................................................................
ผู้เข้าร่วมประชุม (ถ้ามี) ....................................................................................................................................
เริ่มประชุมเวลา..................................................................................................................................................
(ข้อความ) ........................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................

เลิกประชุมเวลา .............................................................................................................................................

......................................................................................
ผู้จดรายงานการประชุม

รายงานการประชุม ให้ลงชื่อคณะที่ประชุม หรือชื่อการประชุมนั้น เช่น "รายงานการประชุมคณะกรรมการ................."
ครั้งที่ การลงครั้งที่ที่ประชุม มี 2 วิธี ที่สามารถเลือกปฏิบัติได้ คือ

1
. ลงครั้งที่ที่ประชุมเป็นรายปี โดยเริ่มครั้งแรกจากเลข 1 เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปีปฏิทิน ทับเลขปีพุทธศักราชที่ประชุมเมื่อขึ้นปีปฏิทินใหม่ให้
เริ่มครั้งที่ 1 ใหม่ เรียงไปตามลำดับ เช่น ครั้งที่ 1/2544

2. ลงจำนวนครั้งที่ประชุมทั้งหมดของคณะที่ประชุม หรือการประชุมนั้นประกอบกับครั้งที่ที่ประชุมเป็นรายปี เช่น ครั้งที่ 36-1/2544

เมื่อ ให้ลงวัน เดือน ปี ที่ประชุม โดยลงวันที่ พร้อมตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือนและตัว เลขของปีพุทธศักราช เช่น เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544

ให้ลงชื่อสถานที่ ที่ใช้เป็นที่ประชุม

ผู้มาประชุม ให้ลงชื่อและหรือตำแหน่งของผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งมาประชุม ในกรณีที่เป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้แทนหน่วยงาน
ให้ระบุว่าเป็นผู้แทนของหน่วยงานใด พร้อมตำแหน่งในคณะที่ประชุม ในกรณีที่เป็นผู้มาประชุมแทนให้ลงชื่อผู้มาประชุมแทน
และลงด้วยว่ามาประชุมแทนผู้ใด หรือตำแหน่งใด หรือแทนผู้แทนหน่วยงานใด

ผู้ไม่มาประชุม ให้ลงชื่อหรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม ซึ่งมิได้มาประชุม โดยระบุให้ทราบว่าเป็นผู้แทนจากหน่วยงานใด
พร้อมทั้งเหตุผลที่ไม่สามารถมาประชุม ถ้าหากทราบด้วยก็ได้

ผู้เข้าร่วมประชุม ให้ลงชื่อหรือตำแหน่งของผู้ที่มิได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม ซึ่งได้เข้ามาร่วมประชุม และหน่วยงานที่สังกัด (ถ้ามี)

เริ่มประชุม ให้ลงเวลาที่เริ่มประชุม

ข้อความ ให้บันทึกข้อความที่ประชุม โดยปกติดให้เริ่มด้วยประธานกล่าวเปิดประชุมและเรื่องที่ประชุมกับมติหรือข้อสรุปของที่ประชุมในแต่ละ
เรื่อง ประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้

วาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
วาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม (กรณีเป็นการประชุมที่ไม่ใช่การประชุมครั้งแรก)
วาระที่ 3 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ
วาระที่ 4 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
วาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)

เลิกประชุมเวลา ให้ลงเวลาที่เลิกประชุม

ผู้จดรายงานการประชุม ให้ เลขานุการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้จดรายงานการประชุมลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งพิมพ์ชื่อเต็มและนามสกุล ไว้ใต้ลายมือชื่อในรายงานการประชุมครั้งนั้นด้วย

ส่วนประกอบของข้อความในแต่ละเรื่อง ควรประกอบด้วยเนื้อหา 3 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 ความเป็นมา หรือสาเหตุที่ทำให้ต้องมีการประชุมพิจารณาเรื่องนั้นๆ
ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นหรือข้ออภิปรายต่างๆ ซึ่งคณะที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นหรือได้อภิปรายในเรื่องดังกล่าว
ส่วนที่ 3 มติที่ประชุม ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญ ที่จำเป็นต้องระบุให้ชัดเจน เพื่อจะได้ใช้เป็น
หลักฐาน หรือใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อเรื่องต่างๆ ที่ได้ประชุม

การจดรายงานการประชุม อาจทำได้ 3 วิธี คือ

วิธีที่ 1 จดรายละเอียดทุกคำพูดของกรรมการ หรือผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน พร้อมด้วยมติ
วิธีที่ 2 จดย่อคำพูดที่เป็นประเด็นสำคัญของกรรมการหรือผู้เข้าร่วมประชุม อันเป็นเหตุผลนำไปสู่มติของที่ประชุม พร้อมด้วยมติ
วิธีที่ 3 จดแต่เหตุผลกับมติของที่ประชุม

การจดรายงานการประชุมโดยวิธีใดนั้น ให้ที่ประชุมนั้นเองเป็นผู้กำหนด หรือให้ประธานและเลขานุการของที่ประชุม
ปรึกษาหารือกันและกำหนด

การรับรองรายงานการประชุม อาจทำได้ 3 วิธี คือ

วิธีที่ 1 รับรองในการประชุมครั้งนั้น ใช้สำหรับกรณีเรื่องเร่งด่วนให้ประธานหรือเลขานุการของที่ประชุม อ่านสรุปมติที่ประชุมพิจารณารับรอง
วิธีที่ 2 รับรองในการประชุมครั้งต่อไป ให้ประธานหรือเลขานุการ เสนอรายงาน การประชุมครั้งที่แล้วมาให้ที่ประชุมพิจารณารับรอง
วิธีที่ 3 รับรองโดยการแจ้งเวียนรายงานการประชุม ใช้ในกรณีที่ไม่มีการประชุมครั้งต่อไป หรือมีแต่ยังกำหนดเวลาประชุมครั้งต่อไปไม่ได้
หรือมีระยะเวลาห่างจากการประชุมครั้งนั้นมาก ให้เลขานุการส่งรายงานการประชุมไปให้บุคคล ในคณะที่ประชุมพิจารณารับรองภายในระยะเวลาที่กำหนด

การเขียนรายงาน

การเขียนรายงาน
การเขียนรายงาน คือ การเขียนรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของบุคคลในหน่วยงาน ซึ่งรายงานแต่ละประเภทนั้น ก็จะมีวิธีการเขียนที่แตกต่างกันออกไป รายงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการบริหารงาน และการที่จะเสนอการเขียนรายงานนั้นให้ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถผลิตออกมาได้อย่างรวดเร็วนั้น ควรที่จะมีการวางแผนกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของแต่ละรายงานไว้ด้วย

1. ความหมายและความสำคัญของรายงาน
รายงาน คือ การเสนอรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของบุคคลของหน่วยงาน เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการบริหารงานทั้งในหน่วยงานราชการและธุรกิจเอกชน เพราะรายงานจะบรรจุข้อมูลพื้นฐานที่ช่วยให้บุคลากรของหน่วยงานทราบนโยบาย เป้าหมาย ผลการปฏิบัติงาน ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในการดำเนินงาน ซึ่งการทำรายงานมีจุดมุ่งหมายคือ
1.1 เพื่อฝึกฝนให้นักศึกษามีนิสัยรักการเขียน
1.2 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ ความคิดริเริ่ม รู้จักแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล
1.3 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
1.4 เพื่อฝึกให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ อย่างถูกต้อง
1.5 เพื่อส่งเสริมและฝึกทักษะทางภาษา
1.6 เพื่อปูพื้นฐานการศึกษาค้นคว้าและการเขียนรายงานสำหรับการศึกษาในขั้นสูงขึ้น

2. ประเภทของรายงาน
2.1 รายงานธรรมดา หรือรายงานทั่วไป เป็นรายงานข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นของบุคคลเกี่ยวกับเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวของบุคคลสำคัญ หรือสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
2.2 รายงานทางวิชาการ เป็นรายงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าวิจัย และมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์
2.2.1 ภาคนิพนธ์หรือรายงานประจำภาค เป็นรายงานที่เรียบเรียงและรวบรวมจากการศึกษาค้นคว้าเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ
2.2.2 วิทยานิพนธ์ เป็นรายงานที่เรียบเรียงจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยข้อเท็จจริงอย่างละเอียดลึกซึ้งรอบคอบตามลำดับขั้นตอนของการวิจัย
ส่วนประกอบของการเขียนรายงาน
- หน้าปก อาจเป็นกระดาษแข็งสีต่าง ๆ
- หน้าชื่อเรื่อง ควรเขียนด้วยตัวบรรจงชัดเจนถูกต้อง เว้นระยะริมกระดาษด้านซ้ายและขวามือให้เท่ากัน
- คำนำ ให้เขียนถึงมูลเหตุจูงใจที่เขียนเรื่องนั้นขึ้น แล้วจึงบอกความมุ่งหมายและขอบเขตของเนื้อเรื่องในย่อหน้าที่สอง ส่วนย่อหน้าสุดท้ายให้กล่าวคำขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในการจัดทำการค้นคว้านั้นจนเป็นผลสำเร็จ
- สารบัญ หมายถึง บัญชีบอกบท
- สารบัญตาราง ให้เปลี่ยนคำว่า "บทที่" มาเป็น "ตารางที่"
- สารบัญภาพประกอบ เพื่อเสริมคำอธิบายเนื้อเรื่องให้เข้าใจง่ายและสมบูรณ์มากขึ้น
- ส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง ต้องลำดับความสำคัญของโครงเรื่องที่วางไว้ ถ้าเป็นรายงานขนาดยาวควรแบ่งเป็นบท
- อัญประกาศ เป็นส่วนประกอบเนื้อเรื่องให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ โดยนำข้อความที่ตัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของคนอื่นมาเขียนไว้ในรายงานของตน
- เชิงอรรถ คือ ข้อความที่ลงไว้ตรงท้ายสุดของหน้า เพื่อบอกที่มาของข้อความที่ยกมาหรืออธิบายคำ
- ตารางภาพประกอบ ให้แสดงไว้ในส่วนของเนื้อเรื่องด้วย
- บรรณานุกรม คือ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์และวัสดุอ้างอิงทุกประเภทที่ผู้ทำรายงานใช้ประกอบการเรียนและการค้นคว้า
- ภาคผนวก คือ ข้อความที่นำมาเพิ่มเติมในตอนท้ายของรายงาน เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้อ่านเข้าใจยิ่งขึ้น
- ดรรชนี คือ หัวข้อย่อย หรือบัญชีคำที่นำมาจากเนื้อเรื่องในหนังสือ โดยจัดเรียงลำดับตั้งแต่ตัว ก-ฮ และบอกเลขหน้าที่คำนั้นปรากฎอยู่ในเรื่อง ดรรชนีจะช่วยผู้อ่านในกรณีที่ต้องการค้นหาคำหรือหัวข้อย่อย ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

3. การเขียนรายงาน
1. ควรเขียนให้สั้นเอาแต่ข้อความที่จำเป็น
2. ใจความสำคัญควรครบถ้วนเสมอว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร
3. ควรเขียนแยกเรื่องราวออกเป็นประเด็น ๆ
4. เนื้อความที่เขียนต้องลำดับไม่สับสน
5. ข้อมูล ตัวเลข หรือสถิติต่าง ๆ ควรได้มากจากการพบเห็นจริง
6. ถ้าต้องการจะแสดงความคิดเห็นประกอบ ควรแยกความคิดออกจากตัวข่าวหรือเรื่องราวที่เสนอไปนั้น
7. การเขียนบันทึกรายงาน ถ้าเป็นของทางราชการ ควรเป็นรูปแบบที่ใช้แน่นอน
8. เมื่อบันทึกเสร็จแล้ว ต้องทบทวนและตั้งคำถามในใจว่า ควรจะเพิ่มเติมหรือตัดทอนส่วนใดทิ้ง หรือตอนใดเขียนแล้วยังไม่ชัดเจน ก็ควรจะแก้ไขเสียให้เรียบร้อย

4. การเขียนรายงานจากการค้นคว้า
4.1 รายงานค้นคว้าเชิงรวบรวม เป็นการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาเรียบเรียงปะติดปะต่อกันอย่างมีระบบระเบียบ
4.2 รายงานค้นคว้าเชิงวิเคราะห์ การนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มาวิเคราะห์ หรือค้นหาคำตอบในประเด็นให้ชัดเจน

5. วิธีการนำเสนอรายงาน
- รายงานด้วยปากเปล่า (Oral Reports) หรือเสนอด้วยวาจา โดยการเสนอแบบบรรยายต่อที่ประชุมต่อผู้บังคับบัญชา ฯลฯ ในกรณีพิเศษเช่นนี้ ควรจัดเตรียมหัวข้อที่สำคัญ ๆ ไว้ให้พร้อม โดยการคัดประเด็นเรื่องที่สำคัญ จัดลำดับเรื่องที่จะนำเสนอก่อนหน้าหลังไว้
- รายงานเป็นลายลักษณ์อักษร (Written Reports) มักทำเป็นรูปเล่ม เป็นรูปแบบการนำเสนออย่างเป็นทางการ (Formal Presentation)

6. ลักษณะของรายงานที่ดี
1. ปกสวยเรียบ
2. กระดาษที่ใช้มีคุณภาพดี มีขนาดถูกต้อง
3. มีหมายเลขแสดงหน้า
4. มีสารบัญหรือมีหัวข้อเรื่อง
5. มีบทสรุปย่อ
6. การเว้นระยะในรายงานมีความเหมาะสม
7. ไม่พิมพ์ข้อความให้แน่นจนดูลานตาไปหมด
8. ไม่การการแก้ ขูดลบ
9. พิมพ์อย่างสะอาดและดูเรียบร้อย
10. มีผังหรือภาพประกอบตามความเหมาะสม
11. ควรมีการสรุปให้เหลือเพียงสั้น ๆ แล้วนำมาแนบประกอบรายงาน
12. จัดรูปเล่มสวยงาม

7. การเลือกใช้สื่อและอุปกรณ์ในการนำเสนอ
มีโสตทัศนูปกรณ์ชนิดต่าง ๆ มากมายที่สามารถนำมาใช้ในการนำเสนอ แต่ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้สื่อหรืออุปกรณ์ชนิดใดแล้ว ควรวิเคราะห์เสียก่อนว่าสื่อหรืออุปกรณ์ใดจะเหมาะสมและสอดคล้องกับเรื่องที่จะนำเสนอนั้น ๆ โดยวิเคราะห์จาก
- ขนาดและลักษณะของผู้ฟัง
- เวลาที่ใช้ในการนำเสนอ
- เวลาสำหรับการผลิตสื่อ
- งบประมาณ

โสตทัศนูปกรณ์และสื่อสำหรับใช้ในการนำเสนอ ควรจะสอดคล้องและเหมาะสมกับเรื่องราวในโลกยุคปัจจุบัน เราอาจจัดหามาได้หลาย ๆ อย่างเช่น
- เครื่องเสียงชนิดต่าง ๆ
- ชอล์ก/กระดานดำ
- ฟลิปชาร์ต/แผนภูมิ/ของจริง
- แผนผัง/แผนที่
- เครื่องฉายไมโครฟิล์ม
- เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ/ภาพถ่าย/แผ่นใส
- เครื่องฉายภาพยนตร์ทุกชนิด
- ทีวี/วีดีโอ/ภาพจากวีดีโอ
- เครื่องฉายสไลด์/ภาพสไลด์/มัลติวิชั่น
- ภาพจากจอคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของการเตรียมโสตทัศนูปกรณ์และสื่อสำหรับใช้ในการนำเสนอ จะเพิ่มอรรถรสในการบรรยายรายงานด้วยวาจาเพราะสามารถช่วยในเรื่อง ดังนี้
1. ผู้รับรายงานสามารถเห็นและคิดได้โดยตรงในทันที
2. มีความกระจ่างชัดและสามารถเน้นจุดสำคัญเป็นพิเศษได้ตรงจุด
3. ช่วยในการสรุปประเด็น


การเรียงลำดับอักขระไทย

การเรียงลำดับอักขระไทย
โปรแกรมการเรียงลำดับคำไทย(Thai Sorting) โดย ไม่มีผู้แต่ง

การเรียงลำดับข้อมูลเป็นการจัดระเบียบให้แก่ข้อมูลเพื่อความสะดวกในการค้น หา โดยมีลำดับของข้อมูลที่ตายตัว การกำหนดลำดับดังกล่าวทำได้โดยกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูล ๒ค่าใดๆ เพื่อพิจารณาลำดับก่อนหลัง ความสัมพันธ์ดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติถ่ายทอดได้ (transitive)กล่าวคือ ถ้า a ถูกกำหนดให้มาก่อน b และให้ bมาก่อน c แล้ว จะต้องได้ว่า a มาก่อน c ด้วยในการเรียงลำดับตัวเลขความสัมพันธ์ดังกล่าวแทนได้ด้วยเครื่องหมายน้อย กว่า (<) นั่นเองส่วนการเรียงลำดับสายอักขระนั้น จะต้องสร้างฟังก์ชันสำหรับเปรียบเทียบสายอักขระ เพื่อใช้ในกระบวนวิธีเรียงลำดับต่อไป

การเรียงลำดับสายอักขระในภาษาต่างๆสามารถทำได้หลายแบบ เช่น การเรียงตามการออกเสียง ซึ่งเห็นได้ในภาษาญี่ปุ่น การเรียงตามรูปอักษร ดังตัวอย่างในภาษาอังกฤษ หรือการเรียงตามรูปอักษรผสมกับการออกเสียง ดังที่ปรากฏในพจนานุกรมไทยบางเล่ม

การเรียงลำดับช่วยให้การค้นหาทำได้ง่ายขึ้นไม่ว่าจะเป็นการค้นโดย คอมพิวเตอร์ หรือค้นโดยผู้ใช้ก็ตาม ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ การค้นหาคำในพจนานุกรม หรือการค้นหาฐานข้อมูลชื่อต่างๆ เช่น ชื่อบุคคล ชื่อหน่วยงาน หรือชื่อแฟ้มเอกสาร เป็นต้น ถ้าได้จัดเรียงไว้ตามลำดับแล้ว ก็สามารถประหยัดเวลาในการค้นหาได้ตัวอย่าง ชื่อบุคคล

หลังจากเรียงลำดับแล้ว ทำให้ค้นหาไง่ายขึ้น ดังนี้








หัวข้อ
การเรียงลำดับอักขระไทย
การเรียงอักขระไทยโดยทั่วไปจะเรียงตามวิธีที่กำหนดไว้ในพจนานุกรม ฉบับราช-บัณฑิตยสถาน ซึ่งเป็นการเรียงตามรูป ข้อกำหนดในการเรียงลำดับก็คือ
๑. ลำดับของพยัญชนะ และตัวฤ ฤา ฦ ฦาเรียงไว้ตามรูป ไม่ใช่ตามเสียง (ตัวอย่างเช่น หนา อยู่หมวด ไม่ใช่หมวด โดยมีลำดับดังนี้
๒. ลำดับของสระเรียงไว้ตามรูป ไม่ใช่ตามเสียง (ตัวอย่างเช่น รัว อยู่ในหมวดไม้หันอากาศไม่ใช่หมวดสระ อัว สังเกตว่า คำดังกล่าวไม่ได้อยู่ใกล้กับคำว่า รวม ซึ่งมีเสียง อัว เหมือนกัน)โดยมีลำดับ ดังนี้
๓. พยัญชนะถือว่ามาก่อนสระเสมอ เช่นกก มาก่อน กะ และ จริง มาก่อน จะ
๔. ไม่มีการเรียงลำดับตามวรรณยุกต์ เช่นไต้ก๋ง ไต้ฝุ่น ไต่ไม้ เรียงลำดับเหมือนเป็นคำว่าไตกง ไตฝุน ไตไม เว้นแต่ในกรณีที่ตัวสะกดและการันต์เหมือนกัน เช่น ไต ไต่ ไต้ ไต๋ หรือกระตุ่น กระตุ้น คำที่มีไม้ไต่คู้จะมาก่อนวรรณยุกต์ เช่น เก็ง เก่ง เก้ง เก๋ง

ตารางผันเสียงวรรณยุกต์

ตารางผันเสียงวรรณยุกต์

Image


ในบร็อกไม่ได้มีแค่เรื่่องตารางอย่างเดียวครับ แต่ยังมีเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ อื่น ๆ ด้วย ลองอ่านดูกันนะคะ

สนับสนุนให้ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องเท่าที่จะทำได้คุ่ะ ^^

หลักภาษาไทย

หลักภาษาไทย

อักขระวิธี ได้แก่ อักษร แปลว่า ตัวหนังสือ
ลักษณะอักษร
เสียงในภาษาไทย มีอยู่ 3 อย่าง คือ
1. เสียงแท้ ได้แก่ สระ
2. เสียงแปร ได้แก่ พยัญชนะ
3. เสียงดนตรี ได้แก่ วรรณยุกต์

สระ
สระในภาษาไทย ประกอบด้วยรูปสระ 21 รูป และเสียงสระ 32 เสียง
พยัญชนะ
รูปพยัญชนะ มี 44 ตัว คือ
1. อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ข ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
2. อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
3. อักษรต่ำ มี 24 ตัว คือ
3.1 อักษรคู่ คืออักษรต่ำที่เป็นคู่กับอักษรสูง มี 14 ตัว คือ ค ค ฆ ช ฌ ซ ฑ ฒ ท ธ พ ภ ฟ ฮ
3.2 อักษรเดี่ยว คืออักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่กัน มี 10 ตัว คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ

วรรณยุกต์
วรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่
1. ไม้เอก
2. ไม้โท
3. ไม้ตรี
4. ไม้จัตวา

เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย มี 5 เสียง
1. เสียงสามัญ คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา มา ทา เป็น ชน
2. เสียงเอก ก่า ข่า ป่า ดึก จมูก ตก หมด
3. เสียงโท เช่น ก้า ค่า ลาก พราก กลิ้ง สร้าง
4. เสียงตรี เช่น ก๊า ค้า ม้า ช้าง โน้ต มด
5. เสียงจัตวา เช่น ก๋า ขา หมา หลิว สวย หาม ปิ๋ว จิ๋ว

คำเป็นคำตาย

คำเป็น คือ คือเสียงที่ประสมทีฆสระ (สระเสียงยาว) ในแม่ ก กา เช่น กา กี กื กู

คำตาย คือ คือเสียงที่ประสมรัสสระ (สระเสียงสั้น) ในแม่ ก กา เช่น กะ กิ กุ

คำสนธิ คือ การต่อคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้ติดเนื่องกัน โดยมีการเพิ่มสระในแทรกระหว่างคำหรือเพิ่มคำเพื่อติดต่อกันให้สนิท เช่น
ปิตุ + อิศ เป็น ปิตุเรศ
ธนู + อาคม เป็น ธันวาคม
มหา + อิสี เป็น มเหสี

คำ สมาส คือ การนำคำประสมตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวคำที่ใช้นำมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เมื่อรวมกันแล้วความหมายเปลี่ยนไปก็มี, ความหมายคงเดิมก็มี เช่น
ราช + โอรส เป็น ราชโอรส
สุธา + รส เป็น สุธารส
คช + สาร เป็น คชสาร

คำ เป็น คือ พยางค์ทีประสมกับสระเสียงยาวในแม่ ก กา และพยางค์ที่มีตันสะกดใน แม่ กน กง กม เกย และสระ อำ ไอ ใอ เอา

คำตาย คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา กก กด กบ แต่ยกเว้นสระ อำ ไอ ใอ เอา

อักษรควบ คือพยัญชนะ 2 ตัว ควบกล้ำอยู่ในสระตัวเดียวกัน เช่น เพลา เขมา

อักษรควบแท้ คือคำที่ควบกับ ร ล ว เช่น ควาย ไล่ ขวิด ข้าง ขวา คว้า ขวาน มา ไล่ ขว้าง ควาย ไป
ควาย ขวาง วิ่ง วน ขวักไขว่ กวัดแกว่ง ขวาน ไล่ ล้ม คว่ำ ขวาง ควาย.

อักษร ควบไม่แท้ คือ อักษร 2 ตัวที่ควบกล้ำกันได้แก่ตัว ร แต่ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าแต่ไม่ออกเสียง ร หรือบางตัวออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะอื่น
เช่น เศร้า ทราย จริง ไซร้ ปราศรัย สร้อย เสร็จ เสริม ทรง สร้าง สระ

อักษรนำ คือ พยัญชนะ 2 ตัวรวมอยู่ในสระเดียวกัน บางคำออก
เสียง ร่วมกันเช่น หนู หนอ หมอ หมี อย่า อยู่ อย่าง อยาก หรือบางคำออกเสียงเหมือน 2 พยางค์ เนื่องจากต้องออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ารวมกับตัวหลัง แต่พยัญชนะ 2 ตัว นั้นประสมกันไม่สนิทจึงฟังดูคล้ายกับมีเสียงสระอะ ดังออกมาแผ่ว ๆ เช่น
กนก ขนม จรัส ไสว ฉมวก แถลง ฝรั่ง ผนวก

คำมูล คือ คำที่เราตั้งขึ้นเฉพาะคำเดียว เช่น ชน ตัก คน วัด หัด ขึ้น ขัด

คำประสม คือ การนำคำมูลมาประสมกันเป็นอีกคำหนึ่ง เช่น
แม่ + น้ำ = แม่น้ำ แปลว่า ทางน้ำไหล
หาง + เสือ = หางเสือ แปลว่า ที่บังคับเรือ
ลูก + น้ำ = ลูกน้ำ

พยางค์ คือ ส่วนหนึ่งของคำหรือหน่วยเสียงประกอบด้วยสระตัวเดียวจะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้ พยางค์หนึ่งมีส่วนประสมต่าง ๆ คือ
1. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ เช่น ตา ดี ไป นา
2. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด เช่น คน กิน ข้าว หรือพยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวการันต์ เช่น โลห์ เล่ห์
3. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด + ตัวการันต์ เช่น รักษ์ สิทธิ์ โรจน์
พยางค์แบบนี้เรียกว่า ประสม 5 ส่วน

วลี คือ กลุ่มคำที่เรียงติดต่อกันอย่างมีระเบียบ และมีความหมายเป็นที่รู้กัน เช่น

การเรียนหลักภาษาไทยมีประโยชน์มาก


ประโยค คือ กลุ่มคำที่นำมาเรียงเข้าด้วยกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ เช่น
1. ประโยค 2 ส่วน ประธาน + กริยา
นก บิน

2. ประโยค 3 ส่วน ประธาน + กริยา + กรรม
ปลา กิน มด


การสะกดคำ การเขียนคำ

เป็น ข้อสอบที่ออกสอบทุกครั้งและออกสอบหลายข้อ ผู้สอบส่วนมากถ้าไม่เก่งภาษาไทยจริง ๆ มักเขียนผิดเสมอ ๆ เพราะไม่มีแนวหรือหลักในการจำ ยิ่งถ้าเจอคำหลายคำในตัวเลือกเดียวยิ่งลำบาก พาลจะกาข้อสอบมั่วให้เสร็จ เป็นอันตรายสำหรับการสอบแข่งขัน ต่อไปนี้เป็นแนวทางที่จะช่วยจำและทำแบบทดสอบในสาระการสะกดและเขียนคำได้ (ควรท่องให้จำอย่างยิ่ง รับรองหน้านี้ มีข้อสอบไม่ต่ำกว่า 10 ข้อ
ข้อความต่อไปนี้ คัดมาจาก หนังสือ หลักภาษาไทย ของ อาจารย์ กำชัย ทองหล่อ ด้วยความเคารพยิ่ง
ก่อนอ่าน ก่อนจำ ก่อนสอบ หากจะระลึกถึงพระคุณของ อาจารย์กำชัย ทองหล่อ ด้วยก็จะช่วยให้เรามั่นใจในการทำข้อสอบมากยิ่งขึ้น

พยางค์ที่ออกเสียงสระ ออ ได้แก่ (นิรันดร จรลี ทรชน นรสิงห์ วรลักษณ์ หรดี บริวาร)

พยางค์ที่ออกเสียง อำ ได้แก่ (อมฤต อำมฤต อมหิต อมรินทร์)

พยางค์ที่ออกเสียง ใอ (ไม้ม้วน) นอกเหนือจาก 20 คำนี้ให้ใช้ สระ ไอ (ไม้มลาย)

1. ใช้สระไอ ไม้ม้วน มี 20 คำ คือ
(ใกล้ ใคร ใคร่ ใจ ใช่ ใช้ ใด ใต้ ใน ใบ ใบ้ ใฝ่ สะใภ้ ใส ใส่ ให้ ใหญ่ ใหม่ ใหล)

คำที่มี ญ สะกด มี 46 คำ คือ

ลำเค็ญครวญเข็ญใจ ควาญช้างไปหานงคราญ
เชิญขวัญเพ็ญสำราญ ผลาญรำคาญลาญระทม
เผอิญเผชิญหาญ เหรียญรำบาญอัญขยม
รบราญสราญชม ดอกอัญชันอัญเชิญเทอญ
ประจญประจัญบาน ผจญการกิจบังเอิญ
สำคัญหมั่นเจริญ ถือกุญแจรัญจวนใจ
รามัญมอญจำเริญ เขาสรรเสริญไม่จัญไร
ชำนาญชาญเกรียงไกร เร่งผจัญตามบัญชา
จรูญบำเพ็ญยิ่ง บำนาญสิ่งสะคราญตา
ประมวญชวนกันมา สูบกัญชาไม่ดีเลย.

การเขียน บัน และ บรร
คำไทยที่ใช้ บัน นำหน้า คำไทยที่ปรากฏนอกจากกลอนบทนี้นี้ให้ใช้ บรร

บันดาลลงบันได บันทึกให้ดูจงดี
รื่นเริงบันเทิงมี เสียงบันลือสนั่นดัง
บันโดย บันโหยให้ บันเหินไปจากรวงรัง
บันทึงถึงความหลัง บันเดินนั่งนอนบันดล
บันกวดเอาลวดรัด บันจวบจัดตกแต่งตน
คำ บัน นั้น ฉงน ระวังปน กับ ร - หัน.

ตัว ทร ที่ ออกเสียง ซ มีใช้อยู่ 17 คำ

ทรวดทรงทราบทรามทราย ทรุดโทรมหมายนกอินทรี
มัทรี อินทรีย์มี เทริด นนทรี พุทราเพรา
ทรวงไทรทรัพย์แทรกวัด โทรมนัสฉะเชิงเทรา
ตัว ทร เหล่านี้เรา ออกสำเนียงเป็นเสียง ซ
คำไทยที่ใช้ จ สะกด
ตำรวจตรวจคนเท็จ เสร็จสำเร็จระเห็จไป
สมเด็จเสด็จไหน ตรวจตราไวดุจนายงาน
อำนาจอาจบำเหน็จ จรวดระเห็จเผด็จการ
ฉกาจรังเกียจวาน คนเกียจคร้านไม่สู้ดี
แก้วเก็จทำเก่งกาจ ประดุจชาติทรพี
โสรจสรงลงวารี กำเหน็จนี้ใช้ตัว จ.

คำที่ใช้ ช สะกด มีอยู่คำเดียว คือ กริช

คำที่ใช้ ร สะกด
กำธร จรรโจษ จรรโลง สรรเสริญ อรชร พรรลาย พรรเอิญ ควร ประยูร ระเมียร ละคร พรรดึก

คำไทยที่ใช้ ตัว ล สะกด เช่น
ตำบลยุบลสรวล ยลสำรวลนวลกำนัล
บันดาลในบันดล ค่ากำนลของกำนัล
ระบิลกบิลแบบ กลทางแคบเข้าเคียมคัล
ดลใจให้รางวัล ปีขาลบันเดินเมิลมอง.

คำไทยที่ใช้ ส สะกด เช่น จรัส จรส จำรัส ดำรัส ตรัส ตรัสรู้

คำไทยที่ใช้ ง สะกด ต่อไปนี้ไม่ต้องมี ค การันต์ (คำพวกนี้มักเขียนผิดบ่อย ๆ )
จำนง ชงโค ดำรง ธำรง ประมง ประโมง พะทำมะรง พะอง สะอาง สำอาง

การอ่านออกเสียง
ตัวอย่างการอ่านออกเสียง

กรณี = กะ - ระ - นี, กอ - ระ- นี
ปรปักษ์ = ปะ - ระ - ปัก, ปอ - ระ ปัก
กรกฎ = กอ - ระ - กด
ธรณี = ทอ - ระ - นี
มรณา = มอ - ระ - นา

คำ ที่มีตัวสะกดเป็นพยัญชนะวรรค และมีพยัญชนะที่ตัวตามซึ่งเรียกว่าตัวตามเป็นพยัญชนะวรรคด้วย หรือ เป็น ศ ษ ส มักไม่ต้องออกเสียง อะ ตามหลังตัวสะกด เช่น

อัปสร = อับ - สอน
สัปดาห์ = สับ - ดา

ถ้าตัวสะกด เป็น ย ร ล ว ศ ษ ส ให้ออกเสียง อะ ตาม หลัง เป็นเสียง อะ ไม่เต็ม เสียง เช่น

ไอยรา = ไอ - ยะ - รา
มารยาท = มา - ร - ยาด
กัลปาวสาน = กัน - ละ ปา - วะ - สาน
ศุลกากร = สุน - ละ - กา - กอน
บุษบา = บุด - สะ - บา
ศิษยานุศิษย์ = สิด - สะ - ยา - นุ - สิด
พิสดาร = พิด - สะ - ดาน
ทฤษฎ๊ = ทริด - สะ - ดี
แพศยา = แพด - สะ - หยา
ขนิษฐา = ขะ - นิด - ถา
สันนิษฐาน = สัน - นิด - ถาน
อธิษฐาน = อะ - ทิด - ถาน

คำที่มาจากภาษาบาลีบางคำ ก็ออกเสียง อะ ตามหลังตัวสะกด เป็นเสียงไม่เต็มมาตรา เช่น

ลัคนา = ลัก - ขะ - นา
อัคนี = อัก - คะ - นี
อาตมา = อาด - ตะ - มา
อาชยา = อาด - ชะ - ยา
ปรัชญา = ปรัด - ชะ - ยา

คำสมาส
คำสมาส คือคำที่มาจากบาลีสันสกฤต ตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป รวมกันเกิดเป็นคำใหม่ มีความหมายเนื่องกับคำเดิม เช่น

ราชการ (ราช + การ) = ราด - ชะ - กาน
จุลสาร (จุล + สาร) = จุล - ละ - สาน
สารคดี (สาร - คดี) = สา - ระ - คะ - ดี
ชาติภูมิ (ชาติ + ภูมิ) = ชาด - ติ พูม

มีคำสมาส บางคำไม่นิยม อ่านออกเสียงสระต่อเนื่องกัน เช่น
ธนบุรี = ทน - บุ - รี
สมุทรปราการ = สมุด - ปรา - กาน
ธาตุวิเคราะห์ = ทาด - วิ - เคราะ

คำสมาส ที่ออกเสียงได้ ทั้ง 2 อย่าง เช่น
เกตุมาลา = เกด - มา - ลา, เกด - ตุ - มา - ลา
ราชบุรี = ราด - บุ - รี , ราด - ชะ - บุ - รี
ประถมศึกษา = ประ - สึก - สา , ประ - มะ - สึก - สา
เพชรบุรี = เพ็ด - บุ - รี , เพ็ด - ชะ - บุ - รี

บางคำไม่ใช่คำสมาส แต่นิยมออกเสียงอย่างคำสมาส เช่น
เมรุมาศ = เม - รุ - มาด
มูลค่า = มูล - ละ - ค่า
คุณค่า = คุน - นะ - ค่า
ทุนทรัพย์ = ทุน - นะ - ซับ
พลเรือน = พน - ละ - เรือน

อ่านอย่างไร เขียนอย่างไร

คำ - วิธีเขียน วิธีอ่าน 1 วิธีอ่าน 2 ความหมาย
เกษตรศาสตร์ กะ - เสด - ตระ - สาด - วิชาว่าด้วยเกษตรกรรม
เกษียน กะ - เสียน - ข้อความที่เขียนแทรก
เกษียณ กะ - เสียน - เกษียณอายุราชการ
เกียรติประวัติ เกียด - ติ - ประ - หวัด เกียด - ประวัติ -
ขยุกขยิก ขะ - หยุก - ขะ - หยิก - ไม่อยู่นิ่ง ๆ
คมนาคม คะ - มะ - นา - คม คม - มะ - นา - คม
คฤหัสถ์ คะ - รึ - หัด - ผู้ครองเรือน
คฤหาสน์ คะ- รึ - หาด - เรือนอันสง่าผ่าเผย